วิธีเลือก TREKKING POLE วิ่งเทรลคู่แรกเลือกยังไง
.
โดยส่วนมากเรามักจะเห็นไม้เท้าในกลุ่มคนที่ไปเดินป่าหรือไป Trekking พกไม้เท้ากัน ซึ่งลักษณะของไม้เท้าเดินป่าการกางจะเป็นแบบหมุนขึ้นลง และเวลาเก็บจะมีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้วิ่งเทรลเพราะไม่สะดวกในการพกพา ไม้โพลแบบนี้จะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป ใช้วิ่งหรือใช้เดินที่ไม่หนักมาก ใช้พยุงตัวเป็นหลัก ส่วนไม้โพลที่นักวิ่งเทรลนิยมใช้กัน เวลาพับเก็บจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เวลาพับจะพับเป็นรูปตัว Z (Z Pole ) ซึ่งพับได้ตั้งแต่ 3 - 4 ท่อน จึงมีความสะดวกในการพกพาขณะวิ่ง เพราะส่วนใหญ่นักวิ่งเทรลจะเก็บไว้กับเป้น้ำด้านหน้า ด้านหลัง หรือสอดเก็บไว้ตรงช่วงเอว ไม้เท้าแบบนี้จึงเหมาะกับการใช้งานที่หนักขึ้น ใช้วิ่งหรือใช้เดินระยะไกลๆ และมีความทนทานเป็นพิเศษ
ทำไมเราต้องใช้ TREKKING POLE
โดยปกติแล้วเวลาที่เราขึ้นเขาเราจะใช้กล้ามเนื้อส่วน Quadricep, Hamstring, Gluteus ค่อนข้างเยอะ ในส่วนคนที่กล้ามเนื้อส่วนนี้แข็งแรงจะขึ้นเขาได้ง่ายกว่า แต่ในส่วนของคนที่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงหรือคนที่ไม่ได้เทรนกล้ามเนื้อส่วนล่างมาก่อนจะรู้สึกเหนื่อยและล้าได้ง่ายมากกว่า ทีนี้ไม้เท้าวิ่งเทรลจะเป็นตัวช่วยดันตัวเราให้ไปข้างหน้าได้ ไม่ว่าขึ้นเขา ลงเขา หรือทางราบ ไม้เท้าจะช่วยลดการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนล่างทำให้การขึ้นเขาหรือลงเขาของเราง่ายขึ้นนั่นเอง
ระบบ Mechanic ในการกาง TREKKING POLE
ระบบในการกางไม้โพลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือแบบที่มี MECHANIC (แบบมีกลไก) และแบบ NON MACHANIC (แบบไม่มีกลไก)
.
.
เริ่มต้นกันที่แบบ NON MACHANIC (แบบไม่มีกลไก) จะใช้เชือกในการล็อก การกางไม้เท้าต้องออกแรงดึงเชือกแล้วใช้ปมเชือกดึงในเข้าล็อก และเวลาเก็บก็ต้องออกแรงดึงปมเชือกให้หลุดออกจากจุดล็อกแล้วค่อยพับเก็บ ข้อดีของแบบ NON MACHANIC (แบบไม่มีกลไก) คือดูแลรักษาได้ง่ายและน้ำหนักเบากว่าแบบมีกลไก
.
..
ถัดมาที่แบบ MACHANIC (แบบมีกลไก) ระบบนี้จะมีทั้งแบบกางได้อัตโนมัติและการรูดแล้วดึงให้เข้าล็อก ไม่ต้องออกแรงในการดึง ตอนเก็บแค่กดปุ่มปลดล็อกก็สามารถพับเก็บได้เลย ข้อดีของแบบ MACHANIC (แบบมีกลไก)คือกางง่าย สะดวก รวกเร็ว และข้อเสียคือน้ำหนักมากกว่าแบบ NON MACHANIC (แบบไม่มีกลไก)
วัสดุของ TREKKING POLE
.
.
ในส่วนของวัสดุของ TREKKING POLE ส่วนมากนิยมใช้อยู่ 2 แบบคือ วัสดุคาร์บอนและวัสดุอลูมิเนียม
- วัสดุคาร์บอน จะมีน้ำหนักเบาและมีราคาที่ค่อนข้างสูง ข้อเสียของวัสดุชนิดนี้คือ เป็นวัสดุที่แตกหักได้ง่าย ซึ่งถ้าเอาไปใช้ในกรณีแรงกระแทกมากๆ อาจมีโอกาสแตกหักได้ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับสายที่เน้น Performance หรือเพื่อนๆที่มีงบประมาณไม่จำกัด
- วัสดุอลูมิเนียม จะมีน้ำหนักที่กหนักกว่าคาร์บอน แต่ก็แลกกับราคาถูกกว่าวัสดุคาร์บอน มีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรง ถ้ารับแรงกระแทกหนักๆ ได้ดี แต่ถ้าเอาไปใช้ในกรณีหนักๆ จะมีโอกาสงอได้ ดังนั้นจึงเหมาะกับเพื่อนๆที่มีงบประมาณที่จำกัด หรือเพื่อนๆที่ไม่ซีเรียสเรื่องน้ำหนักของไม้เท้าวิ่งเทรล
วัสดุของด้ามจับ TREKKING POLE
.
.
ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นอยู่ 2 แบบ คือ ด้ามจับที่ทำมาจากโฟม และดามจับที่ทำมาจากไม้ค็อก
- ด้ามจับแบบโฟม เหมาะกับสภาพอากาศร้อน เพราะซับเหงื่อที่ออกมาจากมือได้ดี และเป็นวัสดุที่เบา จับง่ายไม่หลุดมือ
- ด้ามจับแบบไม้ค๊อก มีความทนทานต่อความชื้น เหมาะสภาพอากาศร้อนๆ มีเหงื่อออกที่มือเยอะๆ
การวัดไซส์
.
.
ยกมืองอข้อศอกให้ตั้งฉากกับพื้น จากนั้นวัดความยาวจากมือถึงพื้น (cm) ตอนวัดความยาวแนะนำให้ใส่รองเท้าเทรลด้วยเพื่อจะได้ระยะความสูงจริงในขณะที่ใช้งาน ได้ความยาวเท่าไหร่ให้นำไปเทียบกับตารางไซส์ของแต่ละแบรนด์
.
สำหรับเพื่อนๆที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถกดลิงค์สั่งซื้อตามช่องทางของ Runnercart ด้านล่าง
Website : http://bit.ly/runnercart
Shopee : https://shopee.co.th/runnercart
Lazada : http://bit.ly/RunnercartatLZD
.